วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

บทบาทหน้าที่เยาวชน
  พลเมือง  หมายถึง  พละกำลังของประเทศ/ประชาชนในประเทศ
คุณลักษณะของการเป็นพลเมืองที่ดี
            1. รู้และปฏิบัติตามกฎหมาย
            2. มีคุณธรรมและจริยธรรมยึดมั่นศีล ธรรมของศาสนา
            3. รักษาวัฒนธรรมประเพณี
            4. รักษาระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย
            5. สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่บ้านเมือง
ความสำคัญของการเป็นพลเมืองดี           
             1. ทำให้ประเทศพัฒนามั่นคง
             2. ทำให้สังคมมีความสงบสุขเรียบร้อย
             3. ทำให้เกิดความสามัคคี
      ความหมายของเยาวชน
-                   บุคคลอายุเกิน 14 ปี แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์
-                   วันเยาวชนแห่งชาติของไทยคือวันที่ 20 กันยายน เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 8 ที่ครองราชย์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์
 คำขวัญของวันเยาวชนแห่งชาติ (พ.ศ.2528)
-                   ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา ใฝ่หาสันติ




แนวทางการปฏิบัติตนเป็นเยาวชนที่มีจิตสาธารณะ
 1. เคารพกติกาของสัง 2. มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อกิจกรรมทางสังคม 3. ไม่เห็นแก่ตัว
 4. มีจิตใจกว้างไม่คับแคบ5. ร่วมมืออนุรักษ์ทรัพยากร/สิ่งแวดล้อม6. ไม่ตามกระแสโดยปราศจากเหตุผล

 กฎหมาย   คำสั่งหรือระเบียบข้อบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐเพื่อใช้บังคับความประพฤติของบุคคลให้ปฏิบัติ ตาม หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
ลักษณะสำคัญของกฎหมาย
1.ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ 2 .ต้องเกิดขึ้นโดยผู้มีอำนาจในประเทศ(รัฐสภา)
3 ต้องใช้บังคับได้ทั่วไป  4.ต้องมีบทลงโทษ
ประเภทของกฎหมาย
 1กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ  เรียกว่า      พระราชบัญญัติ
 2. กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร   เรียกว่า    พระราชกำหนด
 3. กฎหมายที่ออกโดยองค์กรท้องถิ่น  เช่น   เทศบาล(เทศบัญญัติ)   ข้อบัญญัติจังหวัด ฯลฯ
ลำดับชั้นกฎหมาย
1.รัฐธรรมนูญ     กฎหมายสูงสุดในประเทศ  2.พระราชบัญญัติ  3.พระราชกำหนด
4.พระราชกฤษฎีกา  5.กฎกระทรวง
 โทษทางกฎหมายอาญา  1.ริบทรัพย์สิน  2. ปรับ  3. กักขัง  4. จำคุก  5. ประหารชีวิต
โทษทางแพ่ง   1. ชดใช้   2. ชำระหนี้ 
กฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล อันประกอบด้วย
1) กฎหมายคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546   2)กฎหมายการศึกษาแห่งชาติ 2542
3)กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และ4)กฎหมายลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2533
พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546หลักพื้นฐานที่เด็กต้องได้รับสิทธิการคุ้มครอง
 1.สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่รอด
 2. สิทธิที่จะได้รับการปกป้อง
 3. สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา
  4. สิทธิที่จะมีส่วนร่วม
ประเภทของเด็กที่จะได้รับการคุ้มครอง
  1.เด็กเร่ร่อน  2. เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถเลี้ยงดูได้
  3. เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกทารุณ  4. เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรม/ประกอบอาชีพไม่เหมาะ
   5. เด็กพิการ  6. เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก พ่อแม่ยากจน หย่าร้าง
จุดมุ่งหมายของกฎหมายคุ้มครองเด็ก
 1. เพื่อเป็นมาตรฐานในการคุ้มครองสิทธิของบุคคล
 2.เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม ประเทศมั่นคง
บทบาทหน้าที่ผู้ปกครองที่ปฏิบัติต่อเด็ก
 1.ให้การอุปการะเลี้ยงดู  2. คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก  3. ไม่ทอดทิ้งเด็กในโรงพยาบาล/สถานที่ต่างๆ
 4. ไม่ทิ้งเด็กไว้ในสถานที่ไม่ปลอดภัย 5. ไม่ขัดขวางการพัฒนาความเจริญเติบโต(ห้ามต่างๆ)
 6. ไม่ละเลยไม่ให้สิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
กฎหมายคุ้มครองเด็กของประเทศไทย
1.  เป็นกฎหมายกำหนดสิทธิ เสรีภาพของเด็กและเยาวชน รวมทั้งการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ
2.   เด็ก ตาม พ.ร.บ.  คือบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปีไม่รวมผู้ที่บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส) 
  

เพลง หน้าที่ของเด็ก